ต้นชบา ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จาก บ้านคนสมัยก่อน จะมีชบายอยู่แทบทุกบ้าน ปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อ ให้ได้พันธุ์ใหม่ ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบา ที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูง โดยทั่วไป ประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย ลักษณะเด่นของพืชชนิดนี้ คือ มีเส้นใย และยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียง เวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอก จะเชื่อมติดกัน เป็นวงที่ฐานดอก เกสรเพศผู้ประกอบด้วย อับเรณูสีเหลือง รูปไต และ ก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอด ตามจำนวนห้องรังไข่ ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู ดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ ดอกบานเป็นรูปถ้วย ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง |
ความเป็นมงคล |
ถือเป็นต้นไม้มงคลด้วยความเชื่ออว่าให้คุณด้านการงานเจริญก้าวหน้าไร้ปัญหาและอุปสรรค์ |
ดอกชบา |
 |
|
|
|
การปลูก |
ชอบแสงแดดมาก ต้องการน้ำพอประมาณ เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียก หรือแฉะเกินไป ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก |
|
การขยายพันธุ์ |
การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ การปักชำ การเสียบยอด การติดตา |
|
โรคและแมลง |
- โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ
- แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย ดูดน้ำเลี้ยง จากใบและกิ่งก้าน นอกจากนี้ยังมี หนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง
- สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก |
|