มะขาม เป็นไม้เขตร้อน มะขามเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ มะขามในไทยมีสองชนิดคือมะขามเปรี้ยวและมะขามหวาน โดยมะขามหวานมีหลายพันธุ์เช่น พันธุ์น้ำผึ้ง อินทผลัม หมื่นจง สีทอง ในบางครั้งจะเรียกมะขามตามลักษณะของฝัก เช่น มะขามขี้แมว คือมะขามฝักกลม มะขามกระดาน คือมะขามฝักแบน มะขามข้อเดียวคือมะขามที่ฝักมีข้อเดียวออกกลมป้อม มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 1015 คู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 25 มม. ยาว 12 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 216 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 312 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล |
ความเป็นมงคล |
หากบ้านไหนต้องการให้ผู้อื่นเกรงขาม ตามความเชื่อเขาแนะนำให้ปลูกต้นมะขามไว้ทางทิศตะวันตก เพราะเชื่อกันว่า ต้นมะขามจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเป็นที่น่าเกรงขามต่อผู้อื่น และทำให้คนชื่นชอบ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันคดีความ ภูตผีปีศาจ และผีซ้ำด้ำพลอย |
ต้นมะขาม |
 |
|
|
|
การปลูก |
การปลูก กำหนดหลุมปลูกในแปลงก่อน โดยใช้ระยะปลูก 8 x 8 เมตร (ระยะห่างระหว่างแถว 8 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 8 เมตร) ซึ่งจะปลูกได้ 25 ต้นต่อไร่ ควรมีการเตรียมหลุมปลูกขนาดกว้าง x ยาว x ลึก 60 x 60 x 60 เซนติเมตร ดินที่ขุดจากหลุมปลูกให้แยกเป็นสองกอง คือ ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ตากดินที่ขุดขึ้นมาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ แล้วผสมดินทั้งสองกองด้วยปุ๋ยคอก ประมาณ 1-2 บุ้งกี๋ต่อหลุม จากนั้นจึงกลบดินลงไปในหลุมตามเดิม โดยเอาดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุมก่อนแล้วจึงกลบทับด้วยดินชั้นล่าง สำหรับฤดูปลูกควรจะปลูกต้นฤดูฝน เพราะเมื่อปลูกเสร็จแล้วต้นมะขามที่ยังเล็กอยู่จะได้รับน้ำฝน สามารถตั้งตัวได้ดีก่อนจะเขาถึงฤดูแล้ง ต้นมะขามที่ปลูกใหม่ควรจะผูกยึดกับหลัก เพื่อให้ต้นมะขามขึ้นตรงไม่โค่นล้มเนื่องจากลมแรงก่อนจะปลูก หากปลูกด้วยกิ่งทาบจำเป็นต้องแกะเอาเชือกฟางหรือผ้าพลาสติกตรงรอยต่อออกเพราะถ้าไม่ได้แกะออก จะทำให้ต้นมะขามแคระแกร็นหรืออาจจะตายได้ |
|
การขยายพันธุ์ |
ทาบกิ่ง , ติดตา , ตอนกิ่ง |
โรคและแมลง |
ระยะแตกใบอ่อน ให้ป้องกันโรคราแป้งโดยฉีดพ่นสารเบนโนมิล และป้องกันแมลงกินใบ เช่น ด้วงปีกแข็ง หนอนบุ้ง หนอนกระทู้ หนอนมังกร โดยฉีดพ่นสารโมโนโครโตฟอส ระยะติดฝัก ให้ป้องกันราดำ โดยฉีดพ่นด้วยสารคาร์เบนดาซิม หรือแมนโคเซ็น และป้องกันหนอนเจาะฝัก โดยการฉีดพ่นสารโมโนโครโตฟอส และด้วงเจาะฝักมะขามให้ป้องกันโดยการอบไอน้ำหรืออบแห้ง |