|
|
หูด สำหรับในโรคหูด เชื้อแต่ละชนิดย่อยก็ทำให้เกิดหูดที่ตำแหน่งต่างๆ และมีหน้าตาหูดแตกต่างกันไป เช่น เอชพีวี 1 ก่อให้เกิดหูดที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า และ เอชพีวี 6 ก่อให้เกิดหูดที่บริเวณอวัยวะเพศภายนอก หูดบริเวณผิวหนังพบได้บ่อยที่สุดในเด็กและคนอายุน้อย อัตราการพบสูงสุดอยู่ที่ช่วงอายุ 12 - 16 ปี ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดเท่ากัน คนผิวดำและคนเอเชียเป็นมากกว่าคนผิวขาวประมาณ 2 เท่า กลุ่มมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้นนอกจากเชื้อชาติ คือ บุคคลบางอาชีพ เช่น คนที่ต้องแล่เนื้อสัตว์ คนที่ผิวหนังมีความต้านทานต่อโรคต่ำ เช่น เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ส่วนหูดบริเวณอวัยวะเพศภายนอก (ซึ่งก็เป็นหูดที่ผิวหนัง แต่เป็นผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ) จะพบในวัยเจริญพันธุ์ หูดที่อวัยวะเพศเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งเกิดจากเชื้อ HPV ได้มากกว่าร้อยชนิด คนส่วนใหญ่ได้รับเชื้อหูดและไม่มีอาการและหายเองได้ แต่หูดบางชนิดสามารถอยู่ได้เป็นปีโดยที่ไม่เกิดอาการ และเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง เชื้อไวรัวหูดจะอาศัยอยู่เซลล์ผิวที่เรียกว่า Sqamous cell ซึ่งพบได้ที่ส่วนบนของผิวหนัง ปากมดลูก ช่องคลอก ทวาน ส่วนปลายของอวัยวะเพศชาย ปากและคอการติดเชื้อ(HPV) แนวทางการรักษาโรคหูด แบ่งออกเป็นการรักษาด้วยยา (มักเป็นยาใช้ภายนอก) และด้วยการผ่าตัด รวมถึงการไม่รักษา ซึ่งการรักษาไม่ใช่การฆ่าไวรัส เพราะยังไม่มียาฆ่าไวรัสได้ แต่เป็นเพียงการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณที่เห็นเป็นโรค จึงอาจยังมีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่รอบๆที่ผิวหนังที่เห็นเป็นปกติ ดังนั้นแม้จะเอาหูด และเนื้อเยื่อผิวหนังรอบๆหูด ออกไปกว้างพอ ก็ไม่เป็นการรับประกันว่าเชื้อจะหมดไป โรคจึงกลับมาเป็นใหม่ได้ ในการจะรักษาด้วยวิธีใดนั้น แพทย์จะประเมินจากหลายๆปัจจัย เช่น ขนาดของหูด จำนวนหูดที่เกิด ลักษณะของหูด ตำแหน่งที่เกิด อายุ และสุขภาพโดย รวมของผู้ป่วย รวมทั้งดุลพินิจของแพทย์ |
|
|
สุขภาพจิต |
เลือดออกในสมอง |
โรคเวียนศีรษะ |
โรคอัลไซเมอร์ |
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ |
โรคสมองอักเสบ |
อาการปวดปวดประสาท |
โรคสมาธิสั้น |
เด็กออทิสติก |
โรคเครียด |
โรคกระดูกพรุน |
โรคข้อเสื่อม |
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
โรคปีกมดลูกอักเสบ |
หนองในเทียม |
การติดเชื้อหูด |
โรคเริม |
แผลริมอ่อน |
ฝีมะม่วง |
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา |
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
ไวรัสตับอักเสบบี |
ไวรัสตับอักเสบซี |
เซลลูไลท์ |
ผื่นแพ้ยา |
มะเร็งผิวหนัง |
โรคลมชัก |
ข้อมูลเกี่ยวกับโรคต่างๆ รวบรวมมาจากเอกสารแผ่นพับจากโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพทั่วไป เพื่อให้รู้ลักษณะของโรคและสาเหตุ และการรักษาเบี้องต้นในการดูแลสุขภาพ เมื่อทราบสาเหตุและอาการป๋วย ว่าเป็นโรคอะไร ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชื่ยวชาญตามสถานพยาบาลต่างๆ อย่าปล่อยไว้ให้เนิ่นนาน อาจจะทำการรักษายากขึ้นและใช้เวลานานในการรักษา |
|
|
|
|
|
|