มะัเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบมากใน ชาวไทยประมาณ อันดับที่5 ของมะเร็งทั้งหมด สำหรับเพศชาย พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งช่องปาก มะเร็งปอด เป็นมะเร็งชนิดที่ ผลการรักษา ยังไม่ได้ผล เป็นที่น่า พอใจนัก เพราะเมื่อ ปรากฏอาการ ชัดเจน โรคก็มักจะเป็นมากเกินรักษา เสียแล้ว ฉะนั้นการหมั่นสังเกต อาการ เริ่มแรก และสนใจการป้องกันโรค นี้จะเป็นประโยชน์ ต่อท่านมาก มะเร็งปอดส่วนใหญ่ จะพบในอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่า คนไทยที่อายุน้อยกว่านี้ ก็เป็นมะเร็งปอดได้ |
 |
|
Sponsored Links
|
|
สาเหตุของการเป็นมะเร็งปอด |
1. การสูบบุหรี่ ในควันบุหรี่มีสารน้ำมันดิน เขม่า และสารก่อมะเร็งเพนซ์พัยรีน ซึ่งจะระคายเยื่อบุหลอดลมเล็กๆ ในปอด ทำให้เป็นมะเร็งปอด ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่อยู่ในสถานที่มีควันบุหรี่มากๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ หรือ สตรีมีครรภ์ ก็จะมีอัตรายมาก มีรายงานว่าภรรยาของผู้ที่สูบบุหรี่จัด จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้มากกว่า ภรรยาที่สามีไม่ได้สูบบุหรี่หลายเท่า
2. แผลเป็นที่เกิดจากวัณโรคปอด แผลวัณโรคปอด ที่เป็นเรื้อรังไม่ได้รักษา นานไปจะกลายเป็นมะเร็งปอดได้ ในผู้ป่วยมะเร็งปอด ชาวไทยพบว่าประมาณร้อยละ 40 เคยเป็นวัณโรคปอดมาก่อน
3. ฝุ่นละอองของสารแอสบสตอส ใยแก้ว ใยหิน แอสเพตอสใช้ในโรงงาน อุตสาหกรรม การผลิดกระเบื้องใยหิน ท่อซีเมนต์ ผ้าเบรก ผ้าครัทซ์ แผ่นฉนวนกันความร้อน ใยแก้วใยหิน การต่อเรือ หรือโครงหลัง คารถยนต์ ด้วยไฟบอร์ใยแก้ว หรือ ใยหินแอสเบตอส มีลักษณะเป็นใยรุ่ยๆ ถ้าหายใจเข้าไปแล้ว ใยนี้จะไปทิ่มตำ ติดแน่น กับเหยื่อบุหลอดลมในปอด และไม่มีทางหลุดออกได้เลย จึงเกิดการระคายเคืองเรื้อรัง ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่ และทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมแอสเบตอสด้วย จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด ได้มากกว่า ปรกติถึง 60 เท่า
4. อากาศที่มีไอระเหยของน้ำมันดิน หรือ ยางที่หลอมเหลว หรือ โลหะที่หลอมเหลว เช่น โราเมียม เงิน ทองแดง เหล็กกล้า ควันไอระเหยของโลหะ จะระคายเยื่อบุหลอดลมในปอด
5. อากาศที่ไม่บริสุทธิ์ โดยเฉพาะ อากาศที่มีไอเสียจากโรงงาน หรือ เครื่องยนต์ หรือ ที่มีฝุ่นละอองมาก จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีภูมิลำเนาอยูในเมือง จะเป็นมะเร็งปอดได้มากกว่าผู้ที่อยู่ในชนบท
6. อากาศ่ทีมีละอองของการฉีดสเปรย์ มีรายงานว่า สเปรย์ที่มีสารพวก ไจนิลย์ เอททีลีน ละอองของสารนี้ จะจับแน่นกับเยื่อบุปอด ทำให้เป็นมะเร็งปอดได้ |
|
อาการของโรคมะเร็งปอด |
เริ่มจากมีอาการไอเรื้อรังเพียงเล็กน้อย ต่อมาจะไอมากขึ้น มีเสมหะมาก หรือไอเป็นเลือด เมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการเจ็บ หน้าอก ผอมลงอย่างรวดเร็ว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย บางรายจะมีหน้าและคอบวม แน่นหน้าอก มีเส้นเลือดขอด หรือ เส้นเลือดฝอยสีแดงคล้ำ ขึ้น บริเวณหน้าอก |
|
การรักษาโรคมะเร็งปอด |
อาจใช้วิธีการผ่าตัด เช่น ตัดปอดออกไปเป็นบางกลีบ หรือตัดปอดออกทั้งข้างหรือ จะใช้การฉายรังสี ซึ่งขึ้นอยู่กับโรคว่าเป็น มากน้อยเพีงใด และเป็นมะเร็งปอดชนิดใด |
การป้องกันและข้อควรปฏิบัติ |
1. งดการสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด ถ้ายังเลิกสูบไม่ได้ก็ควรลดการสูบให้น้อยลง อย่าอัดบุหรี่เข้าปอดแรงๆ ไม่ควรพ่นควันบุหรี่ ใส่หน้าเด็กเล็กๆ หรืออย่าสูบบุหรี่ภายในห้องที่มีคนหลายคน
2. ถ้าเป็นวัณโรคปอด ควรรีบปรึกษาให้หายโดยเร็ว มิฉะนั้นจะเกิดเป็นแผลในปอด และเมื่อรักษาหายแล้วก็อย่านอนใจ ควรติดตามโดยการถ่ายเอกซเรย์ปอดเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง สำหรับผู้ที่กำลังรักษาอยู่ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแม้ว่าแพทย์ จะเปลี่ยนยาแล้วน่าสงสัยว่ามี มะเร็งปอดซ่อนอยู่
3. ผู้ที่ ปฏิบัตงานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับสารแอสเบสตอส หรือใยแก้ว หรือมีการหลอมเหลวน้ำมันดิน ยาง หรือ โลหะหนักต่างๆ ควรมีหน้ากากป้องกัน อย่าสูดควันจากการหลอมเหลวโดยตรง
4. อยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ปราศจากเขม่าควัน หรือไอเสียจากเครื่องยนต์ โรงงานต่างๆ
5. หลีกเลี่ยงหรืออย่าใช้สเปรย์ในห้องอับทึบ ถ้าจำเป็นควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้ ควรฉีดทิ้งไว้สักครู่แลัวจึงเข้าไป
6. ผู้ที่มีอาการไอเรื้อรัง น้ำหนักลด เจ็บหน้าอก ควรรีปไปพบแพทย์เพื่อตรวจหา สาเหตุและรักษาโดยเร็ว
7. ผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโลหะหนัก สารแอสเบสตอส น้ำมันดิน รวมทั้งผู้สูบบุหรี่จัด ควรถ่ายเอกซเรย์ปอด ตรวจดูอย่างน้อยปี ละ 2 ครั้ง
8. ผู้มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไปแม้ว่าจะมีสุขภาพดีก็ตาม ควาถ่ายเอกซรย์ปอด ตรวจดูอย่างน้อยปีละครั้ง
9. หมั่นรักษาสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรง อยู่ในที่มีอากาศบริสุทธิ์ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย เป็นประจำ สม่ำเสมอ
|
สุขภาพจิต |
เลือดออกในสมอง |
โรคเวียนศีรษะ |
โรคอัลไซเมอร์ |
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ |
โรคสมองอักเสบ |
อาการปวดปวดประสาท |
โรคสมาธิสั้น |
เด็กออทิสติก |
โรคเครียด |
โรคกระดูกพรุน |
โรคข้อเสื่อม |
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
โรคปีกมดลูกอักเสบ |
หนองในเทียม |
การติดเชื้อหูด |
โรคเริม |
แผลริมอ่อน |
ฝีมะม่วง |
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา |
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
ไวรัสตับอักเสบบี |
ไวรัสตับอักเสบซี |
เซลลูไลท์ |
ผื่นแพ้ยา |
มะเร็งผิวหนัง |
โรคลมชัก |
ข้อมูลเกี่ยวกับโรคต่างๆ รวบรวมมาจากเอกสารแผ่นพับจากโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพทั่วไป เพื่อให้รู้ลักษณะของโรคและสาเหตุ และการรักษาเบี้องต้นในการดูแลสุขภาพ เมื่อทราบสาเหตุและอาการป๋วย ว่าเป็นโรคอะไร ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชื่ยวชาญตามสถานพยาบาลต่างๆ อย่าปล่อยไว้ให้เนิ่นนาน อาจจะทำการรักษายากขึ้นและใช้เวลานานในการรักษา |
|