มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในมะเร็งของสตรีไทย และเป็นสาเหตุ ของการเสียชีวิต ที่สูงที่สุดในการเสีย ชีวิตจาก มะเร็งของสตรีไทย จากรายงานของ สำนักงานวิจัยมะเร็ง นานาชาติพบว่า ประเทศไทย มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ราย ใหม่ ปีละ 6192 ราย เสียชีวิต 3166 ราย หรือประมาณร้อยละ 50 ซึ่งถ้าคิดเป็นวันแล้ว จะมีสตรีไทย เสียชีวิตจาก มะเร็ง ปากมดลูก วันละเกือบ 9 ราย มะเร็งปากมดลูก พบมาก ที่สุดในภาคเหนือ ของประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ |
 |
|
Sponsored Links
|
|
สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร จากการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ ด้วยเทคโนโลยี ในปัจจุบันพบว่า สาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (human papilloma virus) หรือ เชื้อ เอชพีวี ซึ่งเป็นไวรัสที่ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจับเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การมีเพศสัมพนธ์ เมื่ออายุยังน้อย การมีคู่นอนหลายคน การมีลูกมาก การสูบบุหรี่ ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และการตรวจเชื้อเอชพีวีของคู่นอน |
เชื้อเอชพีวีมีกี่ชนิด เชื้อเอชพีวีในปัจจุบันมีมากกว่า 90 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มทีทำให้เกิด รอยโรคที่ ผิวหนัง กลุ่มที่ทำให้เกิดรอยโรคทาง ทวารหนัก และอวัยวะสืบพันธุ์ กลุ่มหลังนี้มีเชื้อเอชพีวี ประมาณ 30 ชนิด ซึ่งแ่บ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามศักยภาพ ในการก่อให้เกิดมะเร็งได้แก่
1. กลุ่มความเสี่ยงต่ำ คือ เชื้อเอชพีวีที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ และรอยโรคภายในยื่อบุขั้นต่ำกลุ่มนีมี 12 ชนิด ชนิดที่พบมาก ที่สุดคือ ชนิด 6 และ 11
2.กลุ่มความเสี่ยงสูง คือ เชื้อเอชพีวีที่ทำให้เกิดรอยโรค ภายในเยื่อบุขั้นต่ำ ชั้นสูง และมะเร็งปากมดลูก มี 15 ชนิด ชนิดที่พบ มากที่สุด คือ ชนิ 16,18,31,45 และ 52 กลุ่มนี้เรียกว่า เอชพีวี ชนิดก่อมะเร็ง |
มะเร็งปากมดลูกแบ่งออกเป็นกี่ระยะ แบ่งออกเป็น 2 ระยะใหญ่ๆ คือ
1. ระยะก่อนมะเร็งหรือระยะก่อนมะเร็งลุกลาม ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติ แต่สามารถตรวจพบได้จาก การตรวจคัดกรอง โดยการตรวจทางเซลล์ วิทยาของปากมดลูก การรักษาได้ผลดีมาก
2. ระยะลุกลาม แบ่งออกเป็น 4 ระยะย่อย คือ ระยะที่ 1,2,3 และ 4 ผู้ป่วยอาจไม่มีอารการ หรือมีเส้นเลือดออกผิดปกติ ทางช่องคลอด อาจจะเป็นเลือดออกระหว่างรอบเดือน เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน ตกขาวปนเลือด หรือมีกลิ่มเหม็น ผลการรักษาในระยะนี้ขึ้นกับระยะของมะเร็ง |
จะตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร มะเร็งปากมดลูก สามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ ระยะก่อน มะเร็ง ซึ่งมี 2 วิธี หลักคือ
1. การตรวจทางเซลล์วิทยา เป็นการตรวจหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูก ที่เรียกกันว่า แพ๊ปสเมียร์ ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธี คือ
- แพ๊ปสเมียร์ แบบสามัญหรือแบบดั้งเดิม มีความไวในการตรวจพบความผิดปกติร้อยละ 50-60
- แพ๊ปสเมียร์ แบบแผ่นบาง หรือ ตินเพรป มีความไวในการตรวจพบความผิดปกติร้อยละ 70-85
2. การตรวจหาเชื้อเอชพีวี เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ชนิดที่ก่อมะเร็งปากมดลูกโดยตรง วิธีนี้มีความไวสูงมากถึงร้อยละ 95-100 เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน สามารถตรวจหาเชื้อเอชพีวีชนิดที่ก่อมะเร็งได้แล้ว ท่านสามารถสอบถามข้อมูล เพิ่มเติมได้จากแพทย์ที่คลินิกมะเร็งได้แล้ว |
ถ้าผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ จะทำอย่างไร แพทย์จะให้คำแนะนำถึงความสำคัญของ ความผิดปกติ ที่ตรวจพบซึ่งอาจจะ ต้องทำการสืบค้นเพิ่มเติม โดยการตรวจด้วยกล้องขยายทางช่องคลอด หรือ คอลโปสโคป เพื่อตรวจหา ความผิดปกติที่ปากมดลูก และทำการตัดชิ้นเนื้อเล็กๆ ตรวจทางพยาธิวิทยา ทั้งนี้เื่อการวินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษา ที่เหมาะสมต่อไป |
วิธีการรักษา
การผ่าตัด ถ้ามะเร็งอยู่เฉพาะปากมดลูกอาจจะตัดแค่บริเวณปากมดลูก แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายมาก แพทย์อาจจะตัดมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง การใช้รังสีรักษา ทำได้ 2 วิธี
- โดยการให้รังสีรักษาจากเครื่องแพทย์จะให้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 5วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 5-6 สัปดาห์
- โดยการฝังแร่อาบรังสีบริเวณปากมดลูกฝังแต่ละครั้งนาน 1-3 วันต้องอยู่โรงพยาบาลใช้เวลารักษา 1-2 สัปดาห์
- การให้เคมีบำบัด โดยการให้เคมีเข้าในเลือดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง - การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำลายมะเร็ง ยาที่ใช้บ่อยคือ interferon |
สุขภาพจิต |
เลือดออกในสมอง |
โรคเวียนศีรษะ |
โรคอัลไซเมอร์ |
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ |
โรคสมองอักเสบ |
อาการปวดปวดประสาท |
โรคสมาธิสั้น |
เด็กออทิสติก |
โรคเครียด |
โรคกระดูกพรุน |
โรคข้อเสื่อม |
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
โรคปีกมดลูกอักเสบ |
หนองในเทียม |
การติดเชื้อหูด |
โรคเริม |
แผลริมอ่อน |
ฝีมะม่วง |
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา |
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
ไวรัสตับอักเสบบี |
ไวรัสตับอักเสบซี |
เซลลูไลท์ |
ผื่นแพ้ยา |
มะเร็งผิวหนัง |
โรคลมชัก |
ข้อมูลเกี่ยวกับโรคต่างๆ รวบรวมมาจากเอกสารแผ่นพับจากโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพทั่วไป เพื่อให้รู้ลักษณะของโรคและสาเหตุ และการรักษาเบี้องต้นในการดูแลสุขภาพ เมื่อทราบสาเหตุและอาการป๋วย ว่าเป็นโรคอะไร ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชื่ยวชาญตามสถานพยาบาลต่างๆ อย่าปล่อยไว้ให้เนิ่นนาน อาจจะทำการรักษายากขึ้นและใช้เวลานานในการรักษา |
|