โรคกระเพาะอาหาร โรคนี้ยังหมายถึงโรคแผลที่ลำไส้เล็ก โรคกระเพาะอาหารอักเสบ และโรคลำไส้เล็กอักเสบอีกด้วย แผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหาร เฉพาะส่วนที่สัมผัสกับน้ำย่อย ของกระเพาะอาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ |
 |
|
Sponsored Links
|
|
สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร |
สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมายแต่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดใน กระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง - เชื่อโรค Helicobacter pylori เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดี - สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก - กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์ - การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
- ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก - การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
- การกินอาหารไม่เป็นเวลา - ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามากจะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร - มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
- การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
- การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู - การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง - ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง |
อาการของโรคกระเพาะอาหาร |
ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ เวลาท้องว่าง หรือเวลาหิว แต่บรรเทาได้ด้วยการทานอาหารหรือยาลดกรด แต่ในบางคนจะยิ่งปวดมากขึ้นหลังทานอาหาร โดยเฉพาะทานอาหารที่รสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด มักปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ มานานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ และหายไปหลาย ๆ เดือน จึงกลับมาปวดอีก ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว บางคนอาจมีอาการกำเริบเวลากินยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ของมันๆ ของหวานๆ อาหารที่ย่อยยาก หรือกำเริบในช่วงที่กินอาหารผิดเวลาหรือปล่อยให้หิวนานๆ หรือเวลามีความเครียด |
การรักษาโรคกระเพาะอาหาร |
เมื่อแพทย์ตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระเพาะ แพทย์จะให้กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหาร ติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ รวมทั้งให้ยากำจัดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ในกรณีที่ตรวจพบเชื้อจากการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร แต่หากสาเหตุเกิดจากโรคกระเพาะชนิดไม่มีแผล และมักเป็น ๆ หาย ๆ แพทย์จะให้คำแนะนำในการหลีกเลี่ยงอาหารและสิ่งที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น เลี่ยงของเผ็ด ของมัน เลิกสูบบุหรี่ ดื่มสุรา รวมทั้งแนะนำให้ผ่อนคลายความเครียด ออกกำลังกาย ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย อาหารอ่อน ๆ ในช่วงทำการรักษา จนเมื่อมีอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อย ๆ กลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติได้ สิ่งที่ต้องระวังก็คือ โรคกระเพาะอาหารนี้มักเป็นเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้วก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง หรือยังไม่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารให้หมดไปได้ |
สุขภาพจิต |
เลือดออกในสมอง |
โรคเวียนศีรษะ |
โรคอัลไซเมอร์ |
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ |
โรคสมองอักเสบ |
อาการปวดปวดประสาท |
โรคสมาธิสั้น |
เด็กออทิสติก |
โรคเครียด |
โรคกระดูกพรุน |
โรคข้อเสื่อม |
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
โรคปีกมดลูกอักเสบ |
หนองในเทียม |
การติดเชื้อหูด |
โรคเริม |
แผลริมอ่อน |
ฝีมะม่วง |
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา |
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
ไวรัสตับอักเสบบี |
ไวรัสตับอักเสบซี |
เซลลูไลท์ |
ผื่นแพ้ยา |
มะเร็งผิวหนัง |
โรคลมชัก |
ข้อมูลเกี่ยวกับโรคต่างๆ รวบรวมมาจากเอกสารแผ่นพับจากโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพทั่วไป เพื่อให้รู้ลักษณะของโรคและสาเหตุ และการรักษาเบี้องต้นในการดูแลสุขภาพ เมื่อทราบสาเหตุและอาการป๋วย ว่าเป็นโรคอะไร ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชื่ยวชาญตามสถานพยาบาลต่างๆ อย่าปล่อยไว้ให้เนิ่นนาน อาจจะทำการรักษายากขึ้นและใช้เวลานานในการรักษา |
|
|
|